เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิญชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความ
ที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมีร่างกายสมบูรณ์ นี้เรียกว่า
ปาริปูริมทะ (27)
[845] มทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มทะ (28)
[846] ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (29)
[847] ถัมภะ เป็นไฉน
ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ ภาวะที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย
ความเป็นผู้มีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า ถัมภะ (30)
[848] สารัมภะ เป็นไฉน
ความแข่งดี ความแข่งดีตอบ กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งดีตอบ ภาวะที่แข่งดี
ตอบ นี้เรียกว่า สารัมภะ (31)
[849] อติริจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ 5 ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติริจฉตา (32)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :550 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
[850] มหิจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ 5 ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก
ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (33)
[851] ปาปิจฉตา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า
เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีลปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีศีล
เป็นผู้มีสุตะน้อยปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสุตะมาก เป็นผู้
ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้ชอบสงัด
เป็นผู้เกียจคร้านปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้บำเพ็ญเพียร
เป็นผู้มีสติหลงลืมปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้
มีจิตไม่เป็นสมาธิปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ เป็น
ผู้มีปัญญาทรามปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่
สิ้นอาสวะปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความอยากได้
ความปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปาปิจฉตา1 (34)
[852] สิงคะ เป็นไฉน
ความยั่วยวน ความน่ารัก ความสวยสง่า ความเพริดพริ้ง ความมีเสน่ห์
ความไฉไล นี้เรียกว่า สิงคะ (35)
[853] ตินติณะ เป็นไฉน
การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน ภาวะที่พูดเกียดกัน ความละโมบ
กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ความถ่อมตนเพื่อที่จะได้ ความต้องการสิ่งที่ประณีต
นี้เรียกว่า ตินติณะ (36)

เชิงอรรถ :
1 ภาวะแห่งผู้ปรารถนาลามก ว่าโดยลักษณะ คือยกย่องคุณที่ไม่มีและไม่รู้จักประมาณในการรับ (อภิ.วิ.อ..
851/515)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :551 }