เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิญชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความ
ที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมีร่างกายสมบูรณ์ นี้เรียกว่า
ปาริปูริมทะ (27)
[845] มทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มทะ (28)
[846] ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (29)
[847] ถัมภะ เป็นไฉน
ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ ภาวะที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย
ความเป็นผู้มีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า ถัมภะ (30)
[848] สารัมภะ เป็นไฉน
ความแข่งดี ความแข่งดีตอบ กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งดีตอบ ภาวะที่แข่งดี
ตอบ นี้เรียกว่า สารัมภะ (31)
[849] อติริจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ 5 ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติริจฉตา (32)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :550 }