เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
อิทธิมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฤทธิ์ นี้
เรียกว่า อิทธิมทะ (19)
ยสมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยยศ นี้
เรียกว่า ยสมทะ (20)
สีลมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศีล นี้
เรียกว่า สีลมทะ (21)
ฌานมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฌาน นี้
เรียกว่า ฌานมทะ (22)
สิปปมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศิลปะ นี้
เรียกว่า สิปปมทะ (23)
อาโรหมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้มีทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า อาโรหมทะ (24)
ปริณาหมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี
ทรวดทรงสันทัด นี้เรียกว่า ปริณาหมทะ (25)
สัณฐานมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี
ทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า สัณฐานมทะ (26)
ปาริปูริมทะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :549 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิญชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความ
ที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมีร่างกายสมบูรณ์ นี้เรียกว่า
ปาริปูริมทะ (27)
[845] มทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มทะ (28)
[846] ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (29)
[847] ถัมภะ เป็นไฉน
ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ ภาวะที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย
ความเป็นผู้มีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า ถัมภะ (30)
[848] สารัมภะ เป็นไฉน
ความแข่งดี ความแข่งดีตอบ กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งดีตอบ ภาวะที่แข่งดี
ตอบ นี้เรียกว่า สารัมภะ (31)
[849] อติริจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ 5 ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติริจฉตา (32)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :550 }