เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกมาติกา

(29) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (930)
อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (930)
ปมาทะ (ความประมาท) (930)


(30) อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) (931)
โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (931)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (931)
(31) อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) (932)
อวทัญญุตา (ความเป็นผู้ไม่โอบอ้อมอารี) (932)
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (932)
(32) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (933)
อสังวร (ความไม่สำรวม) (933)
ทุสสีลยะ (ความเป็นผู้ทุศีล) (933)


(33) อริยานัง อทัสสนกัมยตา (ความไม่อยากเห็นพระอริยะ) (934)
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา (ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม) (934)
อุปารัมภจิตตตา (ความคิดแข่งดี) (934)
(34) มุฏฐัสสัจจะ (ความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน) (935)
อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (935)
เจตโสวิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต) (935)
(35) อโยนิโสมนสิการ (การไม่พิจารณาโดยแยบคาย) (936)
กุมมัคคเสวนา (การยึดถือทางผิด) (936)
เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (936)

ติกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :541 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 4. จตุกกมาติกา
4. จตุกกมาติกา

[835] (1) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองในสันดาน) 4 (937)
(2) คันถะ (กิเลสเครื่องร้อยรัดใจ) 4 (938)
(3) โอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) 4 (938)
(4) โยคะ (กิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) 4 (938)
(5) อุปาทาน (ความยึดมั่น) 4 (938)
(6) ตัณหุปาทาน (ความยึดมั่นด้วยตัณหา) 4 (939)


(7) อคติคมนะ (การถึงอคติ) 4 (939)
(8) วิปริเยสะ (การแสวงหาผิด) 4 (939)
(9) อนริยโวหาร (โวหารของผู้มิใช่พระอริยะ) 4 (939)
(10) อนริยโวหาร 4 อีกนัยหนึ่ง (939)
(11) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) 4 (939)
(12) ทุจริต 4 อีกนัยหนึ่ง (939)
(13) ภัย 4 (939)
(14) ภัย 4 อีกนัยหนึ่ง (939)
(15) ภัย 4 อื่นอีกนัยหนึ่ง (939)
(16) ภัย 4 อื่นต่อไปอีกนัยหนึ่ง (939)
(17) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) 4 (939)

จตุกกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :542 }