เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในกรรมสมาทานนั้น นี้ชื่อพระตถาคตทรงทราบวิบากของกรรมสมาทานที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ (2)

3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่ภูมิทั้งปวง)
[811] พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง เป็น
ไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่นรก ทรงทราบว่า
ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้
ไปสู่วิสัยแห่งเปรต ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่มนุษยโลก ทรงทราบว่า
ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่เทวโลก ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่นิพพาน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในทางไปสู่ภูมิทั้งปวงนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
ตามความเป็นจริง (3)

4. นานาธาตุญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีธาตุแตกต่างกัน)
[812] พระตถาคตทรงทราบโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุตาม
ความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ กันแห่งขันธ์ ทรงทราบความ
เป็น ต่าง ๆ กันแห่งอายตนะ ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ กันแห่งธาตุ ทรงทราบ
ความเป็นต่าง ๆ กันแห่งโลกที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในโลกที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบโลก
ที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุตามความเป็นจริง1 (4)

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 812/491-2

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :524 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส
5. นานาธิมุตติกญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีอัธยาศัยแตกต่างกัน)
[813] พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ
กันตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้ง
หลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามย่อมคบหาสมาคมเข้าไป
หาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตก็คบหา
สมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
แม้แต่ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามได้คบหาสมาคมเข้าหา
บ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ผู้มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็
ได้คบหาสมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าหา
บ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็จักคบหา
สมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรง
ทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันตามความเป็นจริง (5)

6. อินทริยปโรปริยัตติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีอินทรีย์แก่กล้า และไม่แก่กล้า)
[814] (6) พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบอาสยะ อนุสัย จริต อธิมุตติ1 ของสัตว์ทั้งหลาย
ทรงทราบสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มี

เชิงอรรถ :
1 อาสยะ ได้แก่ ทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์
อนุสัย ได้แก่ กิเลสที่นอนเนื่องซึ่งยังละไม่ได้
จริต ได้แก่ กุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง
อธิมุตติ ได้แก่ อัธยาศัยของเหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. 814/493-4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :525 }