เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส

1. ปัญญาในโสดาปัตติมรรค 2. ปัญญาในโสดาปัตติผล
3. ปัญญาในสกทาคามิมรรค 4. ปัญญาในสกทาคามิผล
5. ปัญญาในอนาคามิมรรค 6. ปัญญาในอนาคามิผล
7. ปัญญาในอรหัตตมรรค 8. ปัญญาในอรหัตตผล

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในมรรค 4 ผล 4
ญาณวัตถุหมวดละ 8 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

9. นวกนิทเทส
[808] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 9 นั้น ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ
9 เป็นไฉน
ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 คือ

1. ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ 2. ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ
3. ปัญญาในตติยฌานสมาบัติ 4. ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ
5. ปัญญาในอากาสานัญจายตนสมาบัติ 6. ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
7. ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ 8. ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญาย
ตนสมาบัติ

9. ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9
ญาณวัตถุหมวดละ 9 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

10. ทสกนิทเทส
1. ฐานาฐานญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ)1
[809] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 10 นั้น พระตถาคตทรงทราบธรรมที่
เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะ
ตามความเป็นจริง เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "ฐานะ" หมายถึงสิ่งที่เป็นไปได้ คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น "อฐานะ" หมายถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
คือทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดีเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. 809/453)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :519 }