เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 8. อัฏฐกนิทเทส
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี
ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่
มี ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มี
ความดับไปเป็นธรรมดา เหล่านี้ชื่อว่าญาณวัตถุ 771
ญาณวัตถุหมวดละ 7 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

8. อัฏฐกนิทเทส
[807] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 8 นั้น ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 คือ

เชิงอรรถ :
1 สํ.นิ. 16/34/58, อภิ.วิ.อ. 806/452

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :518 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส

1. ปัญญาในโสดาปัตติมรรค 2. ปัญญาในโสดาปัตติผล
3. ปัญญาในสกทาคามิมรรค 4. ปัญญาในสกทาคามิผล
5. ปัญญาในอนาคามิมรรค 6. ปัญญาในอนาคามิผล
7. ปัญญาในอรหัตตมรรค 8. ปัญญาในอรหัตตผล

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในมรรค 4 ผล 4
ญาณวัตถุหมวดละ 8 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

9. นวกนิทเทส
[808] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 9 นั้น ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ
9 เป็นไฉน
ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 คือ

1. ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ 2. ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ
3. ปัญญาในตติยฌานสมาบัติ 4. ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ
5. ปัญญาในอากาสานัญจายตนสมาบัติ 6. ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
7. ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ 8. ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญาย
ตนสมาบัติ

9. ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9
ญาณวัตถุหมวดละ 9 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

10. ทสกนิทเทส
1. ฐานาฐานญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ)1
[809] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 10 นั้น พระตถาคตทรงทราบธรรมที่
เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะ
ตามความเป็นจริง เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "ฐานะ" หมายถึงสิ่งที่เป็นไปได้ คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น "อฐานะ" หมายถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
คือทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดีเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. 809/453)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :519 }