เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 7.สัตตกนิทเทส
นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ
ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก1 ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี
ญาณ 5 (2)
ญาณวัตถุหมวดละ 5 มีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

6. ฉักกนิทเทส
[805] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 6 นั้น ปัญญาในอภิญญา 6 เป็นไฉน
ปัญญาในอภิญญา 6 คือ

1. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
2. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์)
3. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น)
4. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้)
5. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด)
6. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา 62
ญาณวัตถุหมวดละ 6 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

7. สัตตกนิทเทส
[806] ในญาณวัตถุหมวดละ 7 นั้น ญาณวัตถุ 77 เป็นไฉน
ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ
ไม่มี

เชิงอรรถ :
1 จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. 146/206)
2 อภิญญา 6 นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. 805/451)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :517 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 8. อัฏฐกนิทเทส
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี
ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่
มี ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มี
ความดับไปเป็นธรรมดา เหล่านี้ชื่อว่าญาณวัตถุ 771
ญาณวัตถุหมวดละ 7 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

8. อัฏฐกนิทเทส
[807] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 8 นั้น ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 คือ

เชิงอรรถ :
1 สํ.นิ. 16/34/58, อภิ.วิ.อ. 806/452

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :518 }