เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 5. ปัญจกนิทเทส
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในสังขาร เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขาร
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสังขารสมุทัย ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (22-24)
ญาณวัตถุหมวดละ 4 มีด้วยประการฉะนี้
จตุกกนิทเทส จบ

5. ปัญจกนิทเทส
[804] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 5 นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ 5 เป็นไฉน
ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสง
สว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต1 (ปัจจเวกขณญาณ)
ปัญญาในฌาน 2 ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน 3 ชื่อว่า ปัญญา
ที่แผ่สุขไป ญาณในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพยจักษุ
ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธิ
นั้น ๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ 5 (1)
สัมมาสมาธิมีญาณ 5 เป็นไฉน
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ

เชิงอรรถ :
1 ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน (อภิ.วิ.อ.
804/449)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :516 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 7.สัตตกนิทเทส
นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ
ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก1 ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี
ญาณ 5 (2)
ญาณวัตถุหมวดละ 5 มีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

6. ฉักกนิทเทส
[805] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 6 นั้น ปัญญาในอภิญญา 6 เป็นไฉน
ปัญญาในอภิญญา 6 คือ

1. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
2. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์)
3. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น)
4. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้)
5. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด)
6. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา 62
ญาณวัตถุหมวดละ 6 มีด้วยประการฉะนี้ (1)

7. สัตตกนิทเทส
[806] ในญาณวัตถุหมวดละ 7 นั้น ญาณวัตถุ 77 เป็นไฉน
ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ
ไม่มี

เชิงอรรถ :
1 จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. 146/206)
2 อภิญญา 6 นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. 805/451)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :517 }