เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่
รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ทั้ง
รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
เหล่านี้ชื่อว่าปฏิปทา 4 (9)
[802] อารัมมณปัญญา 4 เป็นไฉน
อารัมมณปัญญา 4 คือ
1. ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
2. ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
3. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์
4. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
บรรดาอารัมมณปัญญา 4 นั้น ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
ได้เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
ได้กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :514 }