เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยปีติและสุขครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติยฌาน
ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถฌาน ชื่อ
ว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยรูปครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสานัญจายตนะ
ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินี-
ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสส-
ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ ...
ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคล
ผู้ได้วิญญาณัญจายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้น
ตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ
ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบ
ด้วยวิราคะ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้
อากิญจัญญายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น
ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทา ประกอบ
ด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา (7)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :512 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
[800] ปฏิสัมภิทา 4 เป็นไฉน
ปฏิสัมภิทา 4 คือ

1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เหล่านี้ชื่อว่าปฏิสัมภิทา (8)
[801] ปฏิปทา 4 เป็นไฉน
ปฏิปทา 4 คือ

1. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
2. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว)
3. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
4. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว)

บรรดาปฏิปทา 4 เหล่านั้น ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิเกิด ขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบากทั้งรู้ฐานะ
นั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบาก แต่รู้ฐานะ
นั้นได้เร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :513 }