เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
4. จตุกกนิทเทส
[793] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 4 นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิซึ่งมีลักษณะว่า "ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบรู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก" ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ
เว้นสัจจานุโลมิกญาณเสีย ปัญญาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะแม้ทั้งหมดชื่อว่า
กัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน
ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสมซึ่งมีลักษณะหรือว่า "รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ หรือวิญญาณ
ไม่เที่ยง" ดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ
ปัญญาในผล 4 ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ (1)
[794] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในทุกข์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกข์
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :509 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
[795] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นกามาวจรชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรชื่อว่า
รูปาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นอรูปาวจรชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (3)
[796] ธัมมญาณ เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า ธัมมญาณ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงนำนัย(คือปัจจเวกขณญาณ)ไปในอดีตและ
อนาคตด้วยธรรมนี้ซึ่งทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ทรงรู้แจ้ง และทรงหยั่งถึงแล้วว่า
ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย
รู้ทุกขนิโรธ และรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้
รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักรู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย
รู้ทุกขนิโรธ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้
รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในการนำนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น นี้เรียกว่า อันวยญาณ
ปริจจญาณ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต
คือ รู้จิตมีราคะว่า จิตมีราคะ รู้จิตปราศจากราคะว่าจิตปราศจากราคะ รู้จิตมีโทสะว่า
จิตมีโทสะ รู้จิตปราศจากโทสะว่า จิตปราศจากโทสะ รู้จิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ
รู้จิตปราศจากโมหะว่า จิตปราศจากโมหะ รู้จิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ รู้จิตฟุ้งซ่านว่า
จิตฟุ้งซ่าน รู้จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ รู้จิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิต
ไม่เป็นมหัคคตะ รู้จิตเป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ รู้จิตอนุตตระว่าจิตอนุตตระ
รู้จิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้จิตไม่เป็นสมาธิว่า จิตไม่เป็นสมาธิ รู้จิต
หลุดพ้นว่า จิตหลุดพ้น หรือรู้จิตไม่หลุดพ้นว่า จิตไม่หลุดพ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :510 }