เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา
อธิปัญญปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 นี้เรียกว่า อธิปัญญปัญญา1 (3)
[771] อายโกศล เป็นไฉน
เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่
เกิดแล้วก็เสึ่อมไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยัง
ไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น
นี้เรียกว่า อายโกศล
อปายโศล เป็นไฉน
เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่
เกิดแล้วก็ดับไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
ยังไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น นี้เรียกว่า
อปายโกศล
ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นอุบายสำหรับแก้ไขในเมื่อกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิด2 แล้ว
นั้นชื่อว่า อุปายโกศล (4)
[772] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ 4 ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญา
ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 4 ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในสภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา (5)

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา (อภิ.วิ.อ. 770/443)
2 อภิ.วิ.อ. 771/443

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :505 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
[773] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ 3 ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 3 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3
ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุปาทินน-
อนุปาทานิยปัญญา (6)
[774] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกและวิจารชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา ปัญญา
ที่วิปปยุตจากวิตกและวิจารชื่อว่า อวิตักกอวิจารปัญญา (7)
[775] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขา-
สหคตปัญญา (8)
[776] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 3 ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
ในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า เนวาจยคามินาปจยคามินี-
ปัญญา (9)
[777] ปัญญาในมรรค 4 และในผล 3 ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นผลเบื้องบนชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็น
กุศลในภูมิ 3 ที่เป็นวิบากในภูมิ 3 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า
เนวเสกขนาเสกขปัญญา (10)
[778] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจรชื่อ
ว่า ปริตตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นรูปาวจรและ
อรูปาวจรชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อัปปมาณ-
ปัญญา (11)
[779] บรรดาปัญญาเหล่านั้น ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา (12)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :506 }