เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้
1ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม1 มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา ในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้
ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (1)
[769] ทานมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา
สีลมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (2)
[770] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมปาติโมกขสังวร2 นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา (3)

เชิงอรรถ :
1-1 ตรงกับคำบาลีว่า ขนฺตึ ทิฏฺฐึ รุจึ มุทึ เปกฺขํ ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺตึ (อภิ.วิ.อ. 768/440)
2 ศีล คือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท
ทั้งหลาย (วิสุทฺธิ. 1/19)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :504 }