เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า ปริยาปันน-
ปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (31)
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลใน
ภูมิ 3 ที่เป็นวิบากในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า อนิยยานิก-
ปัญญา (32)
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 3
ที่เป็นวิบากในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า อนิยตปัญญา (33)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สอุตตรปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุตตรปัญญา (34)
บรรดาปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ผู้กำลังทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิก-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ ในเมื่ออภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา (35)
ญาณวัตถุหมวดละ 2 มีด้วยประการฉะนี้
ทุกนิทเทส จบ

3. ติกนิทเทส
[768] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 3 นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลาย1 ที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา หรือในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ2 หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ3ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 768/438
2 ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน คือ ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว (อภิ.วิ.อ. 768/440)
3 สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมตามสัจจะ 4 ประการ
มีรูปไม่เที่ยงเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. 768/440)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :503 }