เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า โอฆนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อโนฆนิยปัญญา (9)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า โอฆวิปปยุตต-
โอฆนิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (10)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า โยคนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อโยคนิยปัญญา (11)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า โยควิปปยุตต-
โยคนิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (12)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า นีวรณิยปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนีวรณิยปัญญา (13)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า นีวรณ-
วิปปยุตตนีวรณิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตต-
อนีวรณิยปัญญา (14)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า ปรามัฏฐปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อปรามัฏฐปัญญา (15)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า ปรามาส-
วิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตต-
อปรามัฏฐปัญญา (16)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ 3 ชื่อว่า อุปาทินนปัญญา ปัญญา
ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 และในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า
อนุปาทินนปัญญา (17)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า อุปาทานิยปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา (18)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า อุปาทาน-
วิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อุปาทานวิปปยุตต-
อนุปาทานิยปัญญา (19)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :501 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สังกิเลสิกปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา (20)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตต-
สังกิเลสิกปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิก-
ปัญญา (21)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกชื่อว่า สวิตักกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกชื่อ
ว่า อวิตักกปัญญา (22)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า สวิจารปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิจาร
ชื่อว่า อวิจารปัญญา (23)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า สัปปีติกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติชื่อ
ว่า อัปปีติกปัญญา (24)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติ
ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา (25)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากสุขชื่อว่า
นสุขสหคตปัญญา (26)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุต
จากอุเบกขาชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา (27)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกามาวจรกุศลและกามาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นรูปาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจร ปัญญาที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา (28)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลและรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า รูปาวจร-
ปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจรและปัญญาที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ชื่อว่า นรูปาวจรปัญญา (29)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นรูปาวจร และปัญญาที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา (30)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :502 }