เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5
อธิบายว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอนแม้
ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (17)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า
บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมด้วยวิญญาณ 5 (18)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (19)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ 5
อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ 5 (20)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับ
แห่งวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (21)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ 5
อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ 5 (22)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (23)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่จุติ
ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ 5 (24)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5 อธิบายว่า
บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (25)
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่หลับ
ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ 5 (26)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :499 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5 อธิบาย
ว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (27)
ความรู้เรื่องวิญญาณ 5 ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ
5 ตามที่เป็นจริง
ญาณวัตถุหมวดละ 1 มีด้วยประการฉะนี้
เอกกนิทเทส จบ

2. ทุกนิทเทส
[767] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า โลกิย-
ปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา (1)
ปัญญาทั้งหมดชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และชื่อว่า นเกนจิวิญเญยย-
ปัญญา (2)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สาสวปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนาสวปัญญา (3)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า อาสววิปปยุตต-
สาสวปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (4)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สัญโญชนิย-
ปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อสัญโญชนิยปัญญา (5)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สัญโญชน-
วิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า สัญโญชน-
วิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา (6)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า คันถนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อคันถนิยปัญญา (7)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า คันถวิปปยุตต-
คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (8)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :500 }