เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน อธิบายว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิด
ขึ้นในขณะเดียวกัน (11)
[765] คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน อธิบายว่า
โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้
จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด
กายวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด ฯลฯ
จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดใน
ลำดับชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด
แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด
ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้
กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด (12)
[766] คำว่า วิญญาณ 5 ไม่มีความผูกใจ อธิบายว่า ความนึก ความ
คิด ความพิจารณา หรือความทำไว้ในใจไม่มีแก่วิญญาณ 5 (13)
คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่
รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ 5 (14)
คำว่า เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป อธิบายว่า เว้นแต่เพียงอารมณ์ที่มาปรากฏ
คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5 อธิบาย
ว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (15)
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคล
ไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ด้วยวิญญาณ 5 (16)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :498 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5
อธิบายว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอนแม้
ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (17)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า
บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมด้วยวิญญาณ 5 (18)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (19)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ 5
อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ 5 (20)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับ
แห่งวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (21)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ 5
อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ 5 (22)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (23)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่จุติ
ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ 5 (24)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5 อธิบายว่า
บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ 5 (25)
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ 5 อธิบายว่า บุคคลไม่หลับ
ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ 5 (26)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :499 }