เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง 10 ของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงประกอบด้วย
กำลังเหล่านี้แล้วจึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร
ญาณวัตถุหมวดละ 10 มีด้วยประการฉะนี้
มาติกา จบ

1. เอกกนิทเทส
[761] วิญญาณ 5 ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์
ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน 3 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
3 ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผลไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มโนวิญญาณรู้ได้ ไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ (1)
[762] คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น อธิบายว่า
เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (2)
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน อธิบายว่า เมื่อ
วัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (3)
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก อธิบายว่า
วัตถุของวิญญาณ 5 เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ 5 เป็นภายนอก (4)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :496 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ อธิบายว่า
เมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ เมื่ออารมณ์ยังไม่แตกดับ วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (5)
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน อธิบายว่า วัตถุและ
อารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของโสตวิญญาณก็เป็นอย่าง
หนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหา-
วิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของกายวิญญาณก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง (6)
[763] คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน อธิบายว่า
โสตวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่
เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของ
จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ จักขุวิญญาณไม่เสวย
อารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ
จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์
ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์
ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณ
ก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ (7)
[764] คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ อธิบายว่า เมื่อใส่ใจ
อยู่ วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (8)
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ อธิบายว่า เมื่อมนสิการ
อยู่ วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (9)
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน อธิบายว่า วิญญาณ 5
ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน (10)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :497 }