เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 10.ทสกมาติกา
6. พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และ
บุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความแก่กล้า
และไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และบุคคลเหล่าอื่น1 ตามความ เป็นจริง
นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะ
อันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (6)
7. พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจาก
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้นตามความเป็น
จริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้น
ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัย
แล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (7)
8. พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง แม้
ข้อที่พระองค์ทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง นี้ก็
เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอัน
ประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (8)
9. พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็น
จริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณ
ฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (9)
10. พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์
ทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต
ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน
บริษัท ประกาศพรหมจักร (10)

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 760/429

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :495 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง 10 ของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงประกอบด้วย
กำลังเหล่านี้แล้วจึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร
ญาณวัตถุหมวดละ 10 มีด้วยประการฉะนี้
มาติกา จบ

1. เอกกนิทเทส
[761] วิญญาณ 5 ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์
ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน 3 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
3 ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผลไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มโนวิญญาณรู้ได้ ไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ (1)
[762] คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น อธิบายว่า
เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (2)
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน อธิบายว่า เมื่อ
วัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น (3)
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก อธิบายว่า
วัตถุของวิญญาณ 5 เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ 5 เป็นภายนอก (4)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :496 }