เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
นิรุตติปฏิสัมภิทามีปริตตะเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา 3 ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา 3 เป็นชั้นกลาง อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น
ประณีตก็มี
ปฏิสัมภิทา 3 ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือ
มีมรรคเป็นอธิบดี อัตถปฏิสัมภิทาไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ปฏิสัมภิทา 2 ที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่ใช่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ปฏิสัมภิทา 3 ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ปฏิสัมภิทา 4 ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา 2 ที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
อัตถปฏิสัมภิทาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคต-
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา 4 ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา 3 ที่มีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายใน
ตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา 4 เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :477 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
2. ทุกมาติกาวิสัชนา
1. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[750] ปฏิสัมภิทา 4 เป็นเหตุ ปฏิสัมภิทา 4 มีเหตุ
ปฏิสัมภิทา 4 สัมปยุตด้วยเหตุ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นเหตุและมีเหตุ
ปฏิสัมภิทา 4 เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

2. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา 4 มีปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา 4 ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปฏิสัมภิทา 4 เห็นไม่ได้ ปฏิสัมภิทา 4 กระทบไม่ได้
ปฏิสัมภิทา 4 ไม่เป็นรูป ปฏิสัมภิทา 3 เป็นโลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทาที่
เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ปฏิสัมภิทา 4 จิตบางดวงรู้ได้ ปฏิสัมภิทา 4 จิตบางดวงรู้ไม่ได้

3. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา 4 ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ปฏิสัมภิทา 4 วิปปยุตจากอาสวะ ปฏิสัมภิทา 3 กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัตถ-
ปฏิสัมภิทากล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ปฏิสัมภิทา 4 กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา 3 วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :478 }