เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[746] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ปฏิสัมภิทา 3 เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ 4 ฝ่ายกามาวจรกุศล
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ 4 ฝ่ายกิริยา อัตถปฏิสัมภิทาเกิดขึ้นใน
จิตตุปบาทเหล่านี้ และเกิดขึ้นในมรรค 4 ผล 4
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

3. ปัญหาปุจฉกะ
[747] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[748] บรรดาปฏิสัมภิทา 4 ปฏิสัมภิทา เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

1. ติกมาติกาวิสัชนา
1-22. กุสลติกาทิวิสัชนา
[749] ปฏิสัมภิทา 4 ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :475 }