เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 4.กิริยาวาร
4. กิริยาวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา 3 โดยอเหตุกกิริยาจิต
[743] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิบาก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[744] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :473 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 4.กิริยาวาร
ขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และ
ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ใน
สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา 3 โดยกิริยาจิต
[745] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรตคด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ
โยคาวจรบุคคลเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่
เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ฯลฯ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :474 }