เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 3.วิปากวาร
เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[734] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[735] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :467 }