เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 2.อกุสลวาร
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[731] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุต
จากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดย
มีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส
สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :465 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 3.วิปากวาร
3. วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา 3 โดยอเหตุกกุศลวิปากจิต
[732] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[733] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :466 }