เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 1.กุสลวาร
ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้
ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ
ฯลฯ ความรู้ในนามรูป ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย
ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ความดับแห่งสังขารชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับ
แห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปฏิจจสมุป-
ปาทวาร

6. ปริยัตติวาร
[724] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
บรรดาปฏิสัมภิทา 4 เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นรู้
แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่ภาษิตนี้
นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปริยัตติวาร
สุตตันตภาชนีย์ จบ

2. อภิธรรมภาชนีย์
1. กุสลวาร
[725] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :461 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 1.กุสลวาร
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาวธรรม
เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้
เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[726] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด
ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ
นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ
เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :462 }