เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ 15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์ 5. ปฏิจจสมุปปาทวาร
ความรู้ในเหตุชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าเหตุวาร

4. ธัมมวาร
[721] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้ว ความรู้ในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว มี
แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะธรรมเหล่าใด
ความรู้ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อ
ว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า ธัมมวาร

5. ปฏิจจสมุปปาทวาร
[722] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะชื่อ
ว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้
ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
การกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[723] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :460 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [15.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 1.กุสลวาร
ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้
ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ
ฯลฯ ความรู้ในนามรูป ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย
ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ความดับแห่งสังขารชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับ
แห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปฏิจจสมุป-
ปาทวาร

6. ปริยัตติวาร
[724] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
บรรดาปฏิสัมภิทา 4 เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นรู้
แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่ภาษิตนี้
นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปริยัตติวาร
สุตตันตภาชนีย์ จบ

2. อภิธรรมภาชนีย์
1. กุสลวาร
[725] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :461 }