เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ 15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์ 3. เหตุวาร
15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
1. สังคหวาร
[718] ปฏิสัมภิทา 4 คือ

1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาน)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา1 ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสังคหวาร

2. สัจจวาร
[719] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกข์ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขสมุทัยชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกขนิโรธชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาชื่อว่า
ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสัจจวาร

3. เหตุวาร
[720] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 718/413

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :459 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ 15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์ 5. ปฏิจจสมุปปาทวาร
ความรู้ในเหตุชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าเหตุวาร

4. ธัมมวาร
[721] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้ว ความรู้ในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว มี
แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะธรรมเหล่าใด
ความรู้ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อ
ว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า ธัมมวาร

5. ปฏิจจสมุปปาทวาร
[722] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะชื่อ
ว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้
ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
การกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[723] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา 2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :460 }