เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [14.สิกขาปทวิภังค์] 2.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
[713] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
ภิกษุเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ฯลฯ เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ ฯลฯ
เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

2. ปัญหาปุจฉกะ
[714] สิกขาบท 5 คือ
1. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
2. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
3. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
4. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :454 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [14.สิกขาปทวิภังค์] 2.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[715] บรรดาสิกขาบท 5 สิกขาบทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

1. ติกมาติกาวิสัชนา
1-22. กุสลติกาทิวิสัชนา
[716] สิกขาบท 5 เป็นกุศลอย่างเดียว
สิกขาบท 5 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สิกขาบท 5 เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
สิกขาบท 5 กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน
สิกขาบท 5 กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สิกขาบท 5 มีทั้งวิตกและวิจาร
สิกขาบท 5 ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สิกขาบท 5 ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
สิกขาบท 5 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
สิกขาบท 5 เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
สิกขาบท 5 ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
สิกขาบท 5 เป็นปริตตะ
สิกขาบท 5 มีปริตตะเป็นอารมณ์
สิกขาบท 5 เป็นชั้นกลาง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :455 }