เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาวิปากฌาน
[695] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
อุเบกขา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[696] อัปปมัญญา 4 คือ
1. เมตตา 2. กรุณา
3. มุทิตา 4. อุเบกขา

เมตตากิริยาฌาน
[697] บรรดาอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :440 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ
[698] กรุณา เป็นไฉน
ฯลฯ
มุทิตา เป็นไฉน
ฯลฯ
อุเบกขา เป็นไฉน
ฯลฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

3. ปัญหาปุจฉกะ
[699] อัปปมัญญา 4 ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็
เช่นนั้น ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่
2. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็เช่น
นั้น ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :441 }