เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
มุทิตากุศลฌานจตุกกนัย
[688] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยา
ที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (1)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (2)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (3)

มุทิตากุศลฌานปัญจกนัย
[689] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (1-4)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี
ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยมุทิตา (2-5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :436 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (3-6)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (4-7)

อุเปกขากุศลฌาน
[690] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความวางเฉย
กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[691] อัปปมัญญา 4 คือ
1. เมตตา 2. กรุณา
3. มุทิตา 4. อุเบกขา

เมตตาวิปากฌาน
[692] บรรดาอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :437 }