เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13. อัปปมัญญาวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์ 3. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
3. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
[663] มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยมุทิตาไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักชอบใจแล้วพลอยยินดีฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย นี้
เรียกว่า มุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยมุทิตา
[664] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[665] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[666] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
[667] คำว่า ทิศที่ 2 ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ 2 ทิศที่
3 ทิศที่ 4 ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[668] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์
ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[669] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา นั้น มุทิตา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :430 }