เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 1.เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
1. เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
[643] มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนคนเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจแล้วพึงรักใคร่ฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[644] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[645] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[646] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อยู่
[647] คำว่า ทิศที่ 2 ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ 2 ทิศที่
3 ทิศที่ 4 ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[648] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด โดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :427 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[649] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา นั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[650] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[651] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[652] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อยู่

2. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[653] มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้วพึงสงสารฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยกรุณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :428 }