เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุตั้งจิตไว้ ตั้งจิตไว้ด้วยดี แผ่ไปไม่มีที่สุดในอากาศนั้น เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อากาศไม่มีที่สุด
[606] คำว่า อากาสานัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือพระอรหันต์
ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[607] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากาสานัญจายตนะ
[608] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[609] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากาสานัญจายตนะ
นี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
[610] คำว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อธิบายว่า ภิกษุมนสิการอากาศนั้นนั่น
แหละที่วิญญาณถูกต้องแล้ว แผ่ไปไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด
[611] คำว่า วิญญาณัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ผู้อุบัติในวิญญาณัญจายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[612] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุวิญญาณัญจายตนะ
[613] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อยู่
[614] คำว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งวิญญาณัญจายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :411 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[615] คำว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี อธิบายว่า ภิกษุทำวิญญาณนั้น
นั่นแหละไม่ให้มี ให้เสื่อมไป ให้อันตรธานไป พิจารณาเห็นว่า น้อยหนึ่งก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี
[616] คำว่า อากิญจัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ผู้อุบัติในอากิญจัญญายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[617] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากิญจัญญายตนะ
[618] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[619] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากิญจัญญายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
คำว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อธิบายว่า ภิกษุมนสิการ
อากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละโดยความเป็นฌานที่สงบ เจริญสมาบัติที่มีสังขาร
เหลืออยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
[620] คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและ
เจตสิกของบุคคลผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้อุบัติในเนวสัญญานา-
สัญญายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[621] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[622] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :412 }