เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
โสมนัสและโทมนัสนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
[596] คำว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข อธิบายว่า ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่
ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุข
[597] ในคำว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันเปิดเผย บริสุทธิ์ ผุดผ่อง เพราะอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
[598] คำว่า จตุตถะ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นที่ 4 โดยลำดับแห่งการนับ
ชื่อว่าจตุตถะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ 4
[599] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ และเอกัคคตา
[600] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุจตุตถฌาน
[601] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :409 }