เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[571] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[572] คำว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว อธิบายว่า วิตกวิจารนั้น
แยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน 2 อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
วิตกและวิจารดังกล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป
ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้
สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
[573] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
[574] คำว่า ผ่องใส อธิบายว่า ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปักใจเชื่อ
ความเลื่อมใสยิ่ง
[575] คำว่า มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น อธิบายว่า ความตั้งอยู่แห่งจิต
ฯลฯ สัมมาสมาธิ
[576] คำว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็น วิตก
อย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน 2 อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :404 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
วิตกวิจารดังที่กล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูก
ทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้น
ไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
[577] คำว่า เกิดจากสมาธิ อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ และสุข ธรรม
เหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้วใน
สมาธินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากสมาธิ
[578] คำว่า มีปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่าง
หนึ่ง สุขอย่างหนึ่ง
ใน 2 อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ฯลฯ ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ฯลฯ กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน ประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีปีติและสุข
[579] คำว่า ทุติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าทุติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ทุติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ 2
[580] คำว่า ฌาน อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ สุข และเอกัคคตา
[581] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุทุติยฌาน
[582] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[583] ในคำว่า เพราะปีติจางคลายไป นั้น ปีติ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :405 }