เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
2. เวทนาขันธ์
[8] บรรดาขันธ์ 5 นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง1 คือ เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่
เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นภายในตน เวทนาที่เป็นภายนอกตน เวทนาหยาบ เวทนา
ละเอียด เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เวทนาไกล หรือเวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
[9] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
เวทนาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอดีต
เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็น
อนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ
อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอนาคต
เวทนาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
เวทนาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นปัจจุบัน
[10] เวทนาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายในตน

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงเวทนาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ 4 คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ.8/14)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :4 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
เวทนาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายนอกตน
[11] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
เวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นอัพยา-
กฤตเป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
เป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนา
เป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนา
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด
พึงทราบเวทนาหยาบ เวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[12] เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนา
ชั้นประณีต เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
เวทนาชั้นประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
เวทนาชั้นประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนาเป็น
เวทนาชั้นประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาของผู้เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาชั้นประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นต่ำ
เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นประณีต
พึงทราบเวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :5 }