เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ใน 2 อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะ
ที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ1
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความง่วงนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ2
ถีนะและมิทธะนี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว
[547] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจาก
ถีนมิทธะ เพราะสละ คลาย ปล่อย วาง สละคืน ละและสละคืนถีนมิทธะนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ
[548] คำว่า อยู่ อธิบายว่า ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[549] ในคำว่า ได้อาโลกสัญญา นั้น สัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้เป็น
ความสว่าง เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องใส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ได้อาโลกสัญญา
[550] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/1162/270, อภิ.วิ. 35/551/307 2 อภิ.สงฺ. 34/1163/270, อภิ.วิ. 35/551/307

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :398 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[551] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้น
แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง
ใน 2 อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ฯลฯ ภาวะที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ฯลฯ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากถีนมิทธะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
[552] คำว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว อธิบายว่า อุทธัจจกุกกุจจะนั้น
แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน 2 อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ1
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่า ควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือด
ร้อนใจ ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ2
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำ
ให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/1165/271 2 อภิ.สงฺ. 34/1166/271

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :399 }