เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[543] ในคำว่า มีจิตไม่พยาบาท นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นจิตไม่พยาบาท เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท
[544] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[545] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษ
ร้าย อธิบายว่า ความพยาบาทก็มี ความคิดประทุษร้ายก็มี
ใน 2 อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
อันใด อันนั้นเป็นความพยาบาท
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษร้าย
[546] คำว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้นแยกเป็น ถีนะ
อย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :397 }