เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[533] คำว่า มีเสียงอึกทึกน้อย อธิบายว่า เสนาสนะใดมีเสียงน้อย
เสนาสนะนั้นชื่อว่ามีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะใดมีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าไม่มีคนสัญจรไปมา เสนาสนะใดไม่มีผู้คนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้นชื่อว่าเป็น
สถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้1 เสนาสนะใดเป็นสถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้
เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่
[534] คำว่า เป็นผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง อธิบายว่า เป็น
ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
[535] คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า เป็นผู้นั่งขัดสมาธิ
[536] คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายที่ดำรงไว้ ตั้งไว้ ย่อมเป็นกายตรง
[537] ในคำว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันภิกษุดำรงไว้มั่นแล้ว ตั้งไว้ดีแล้วที่ปลายจมูก หรือที่นิมิตเหนือ
ริมฝีปาก เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
[538] ในคำว่า ละอภิชฌาในโลกได้ นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โลก เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ 5 ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้วในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอภิชฌาในโลกได้
[539] ในคำว่า มีจิตปราศจากอภิชฌา นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 533/394

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :395 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
จิตนี้เป็นธรรมชาติปราศจากอภิชฌา เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตปราศจาก
อภิชฌา
[540] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[541] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอภิชฌานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
[542] คำว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว อธิบาย
ว่า ความพยาบาทก็มี ความประทุษร้ายก็มี
ใน 2 อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายอัน
ใด อันนั้นเป็นความพยาบาท ความพยาบาทนี้ และความคิดประทุษร้ายนี้ เป็นอัน
สงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้
เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :396 }