เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[520] คำว่า ความเพียรที่เป็นไปติดต่อ อธิบายว่า การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
[521] คำว่า ปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง อธิบายว่า ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[522] ในคำว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
นั้น โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน
โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

เหล่านี้เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม
ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
[523] ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร จีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด
การนิ่ง เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป ถอยกลับ 1 เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะแลดู เหลียวดู 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า เหยียดออก 1 เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :392 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น
การพูด และการนิ่ง 1
[524] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความระลึก
ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
นี้เรียกว่า สติ1
[525] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญา
เหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง
ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ2
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้
ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป
ถอยกลับ 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะแลดู เหลียวดู 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า
เหยียดออก 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร 1 เป็น
ผู้มีสติสัมปชัญญะในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง 1

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/1358/304 2 อภิ.สงฺ. 34/1359/304

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :393 }