เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[520] คำว่า ความเพียรที่เป็นไปติดต่อ อธิบายว่า การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
[521] คำว่า ปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง อธิบายว่า ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[522] ในคำว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
นั้น โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน
โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

เหล่านี้เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม
ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
[523] ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร จีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด
การนิ่ง เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป ถอยกลับ 1 เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะแลดู เหลียวดู 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า เหยียดออก 1 เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร 1 เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :392 }