เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่ง
เรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ1 อบอวลไปด้วยกลิ่นของฤษี ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นความผาสุก ปรารถนาแต่ความหลุด
พ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า โคจร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอาจาระนี้และด้วยโคจรนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร2
[515] ในคำว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย อธิบายว่า ในคำว่า เห็น
ภัยในโทษมีประมาณน้อย นั้น โทษมีประมาณน้อย เป็นไฉน
โทษอย่างต่ำ อย่างเบา ที่สมมติกันว่าโทษเบา ที่จะพึงทำด้วยความสำรวม
ระวัง และด้วยจิตตุปบาทที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษมีประมาณน้อย
ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ ภัย ความชั่วร้าย และเห็นการสลัดออกในโทษที่มีประมาณ
น้อยเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ด้วยประการฉะนี้
[516] ในคำว่า สมาทานศึกษาในสิกขาทั้งหลาย นั้น สิกขา เป็นไฉน
สิกขา 4 คือ
1. สิกขาของภิกษุ เรียกว่า ภิกขุสิกขา
2. สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา
3. สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุปาสกสิกขา
4. สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุปาสิกาสิกขา
เหล่านี้เรียกว่า สิกขา
ภิกษุสมาทานในสิกขาเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการสมาทานทุกอย่าง ไม่ให้มีส่วนเหลือ
ประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สมาทานศึกษา
ในสิกขาทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "ผ้ากาสาวะ" ได้แก่ ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดมีน้ำแก่นขนุนเป็นต้น
2 ขุ.ม. 29/196/404

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :389 }