เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
เพราะเป็นผู้เข้าถึงภิกขาจาร ชื่อว่าภิกษุ เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลาย1 ชื่อว่าภิกษุ
เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมได้แล้ว ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้เฉพาะส่วน ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้โดยไม่เฉพาะส่วน ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นพระเสขะ ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะเป็นพระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะไม่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ
ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เลิศ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้
ผุดผ่อง ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วย
ญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบ2 สมควรแก่เหตุ ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพียงกัน
[511] คำว่า ปาติโมกข์ อธิบายว่า ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อ
ความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล
คำว่า สังวร อธิบายว่า ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทั้งทาง
กายและวาจา
คำว่า เป็นผู้สำรวม อธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงพร้อมแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
[512] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[513] คำว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร อธิบายว่า อาจาระก็มี
อนาจาระก็มี
ใน 2 อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ
ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อนาจาระ

เชิงอรรถ :
1 วิ.อ. 1/45/253 2 คือถูกต้อง มั่นคง (วิ.มหาวิ. 1/45/33, อภิ.วิ.อ. 510/354)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :387 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อนาจาระ
อาจาระ เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า
อาจาระ ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อาจาระ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อาจาระ
[514] คำว่า โคจร อธิบายว่า โคจรก็มี อโคจรก็มี
ใน 2 อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร
มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้านสุราเป็น
โคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก
เดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูล
ที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ 1ปรารถนาแต่สิ่งที่
มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร2
โคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิง
หม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็น
ผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีร้านสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีกับพระราชา

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 199/114 2 ขุ.ม. 29/196/402

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :388 }