เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [11.มัคควิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยสุข องค์มรรค 7 ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
สัมมาสังกัปปะไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์มรรค 7 ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค 8 ไม่เป็นกามาวจร
องค์มรรค 8 ไม่เป็นรูปาวจร
องค์มรรค 8 ไม่เป็นอรูปาวจร
องค์มรรค 8 ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
องค์มรรค 8 ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี
องค์มรรค 8 ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค 8 ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
องค์มรรค 8 ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :384 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12. ฌานวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
12. ฌานวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
มาติกา
[508] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษที่มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบความ
เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม หมั่นประกอบความเพียรใน
การเจริญโพธิปักขิยธรรมอย่างต่อเนื่อง มีปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ 1 ทำความรู้สึกตัวในการ
แลดู การเหลียวดู 1 ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก 1 ทำความรู้สึก
ตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร 1 ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม 1 ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ 1 ทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง 1
ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะที่สงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ดง
ที่แจ้ง กองฟาง ที่สงัดมีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ไม่มีคนสัญจรไปมา ไม่มี
คนพลุกพล่าน เหมาะเป็นที่หลีกเร้น ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลกได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็น
ผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งมวล ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความ
คิดประทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้ได้อาโลก-
สัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว
เป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่านอยู่ มีจิตสงบภายในตน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา1

เชิงอรรถ :
1 ที.สี. 9/214-217/71-72

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :385 }