เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
[59] เวทนาขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์
ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
[60] เวทนาขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี1 ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก
ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
[61] เวทนาขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุต
จากโยคะก็มี

เชิงอรรถ :
1 ดู โยคะ 4 ข้อ 938 หน้า 599

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :38 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ

พหุวิธวาร
เวทนาขันธ์หมวดละ 7 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 7 มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ 7 อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจร
ก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 7 มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ 24 ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่
เป็นกุศล 1 ที่เป็นอกุศล 1 ที่เป็นอัพยากฤต 1 จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศล 1 ที่เป็นอกุศล 1 ที่เป็น
อัพยากฤต 1 จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :39 }