เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [11.มัคควิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับ
ไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ (8)

อริยมรรคมีองค์ 8
[488] อริยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ

[489] บรรดาอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง ฯลฯ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ

2. อภิธรรมภาชนีย์
[490] มรรคมีองค์ 8 คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ
[491] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ 8 เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :373 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [11.มัคควิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
[492] บรรดามรรคมีองค์ 8 เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ1 (1)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ2 (2)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต 4 การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต 4)
สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา3 (3)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต 3 การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต 3)
สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ4 (4)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาอาชีวะ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาอาชีวะ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ5 (5)

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/297/88 2 อภิ.สงฺ. 34/298/88 3 อภิ.สงฺ. 34/299/88
4 อภิ.สงฺ. 34/300/89 5 อภิ.สงฺ. 34/301/89

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :374 }