เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10.โพชฌังควิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
13. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ 7 ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ 7 ไม่ต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
โพชฌงค์ 7 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ 7 ไม่มี
เหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
โพชฌงค์ 7 ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี โพชฌงค์ 7 ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีปีติ โพชฌงค์ 6 ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ โพชฌงค์ 6 ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์สหรคตด้วยสุข โพชฌงค์ 6 ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ 6 ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ 7 ไม่เป็นกามาวจร โพชฌงค์ 7 ไม่เป็นรูปาวจร
โพชฌงค์ 7 ไม่เป็นอรูปาวจร โพชฌงค์ 7 ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
โพชฌงค์ 7 ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี โพชฌงค์ 7 ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ 7 ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า โพชฌงค์ 7 ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :370 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [11. มัคควิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
11. มัคควิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
อริยมรรคมีองค์ 8 นัยที่ 1
[486] อริยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[487] บรรดาอริยมรรคมีองค์ 8 เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (1)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน
การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (2)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (3)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (4)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :371 }