เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10.โพชฌังควิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็น
กลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

3. ปัญหาปุจฉกะ
[482] โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[483] บรรดาโพชฌงค์ 7 โพชฌงค์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :366 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10.โพชฌังควิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
1. ติกมาติกาวิสัชนา
1-22. กุสลติกาทิวิสัชนา
[484] โพชฌงค์ 7 ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โพชฌงค์ 6 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
โพชฌงค์ 7 ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
โพชฌงค์ 7 กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน
โพชฌงค์ 7 กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
โพชฌงค์ 7 ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคต
ด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ 6 ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคต
ด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ 7 ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
โพชฌงค์ 7 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
โพชฌงค์ 7 ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
โพชฌงค์ 7 ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
โพชฌงค์ 7 เป็นอัปปมาณะ
โพชฌงค์ 7 มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ 7 เป็นชั้นประณีต
โพชฌงค์ 7 ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ 7 ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :367 }