เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10.โพชฌังควิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวาง
เฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[477] โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[478] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา1 อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ 7 คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ก็เกิดขึ้น
[479] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. 277/171)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :364 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10.โพชฌังควิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
ฯลฯ
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ 7
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ 7
[480] โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[481] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :365 }